หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
ลูกเสือวิสามัญแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้
(1) เตรียมลูกเสือวิสามัญ (Rover Squire) (ระยะทดลอง)
(2) ลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) (ต้องได้เข้าพิธีประจำกองแล้ว)
การฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ
การฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ มี 4 อย่างดังนี้ คือ
(1) การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาลูกเสือวิสามัญในเรื่องสติปัญญา จิตใจ ศีลธรรม การสังคม และอื่น ๆ ควรมีการฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง โดยให้ลูกเสือวิสามัญและเตรียมลูกเสือวิสามัญทุกคน ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในวันประชุมประจำ
สัปดาห์ ตามที่คณะกรรมการประจำกองเป็นผู้วางแผนและกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับและที่ประชุมลูกเสือวิสามัญ
ลูกเสือวิสามัญรวมทั้งเตรียมลูกเสือวิสามัญ ควรมีกำหนดการฝึกอบรมร่วมกันทั้งกองดังกล่าวข้างต้น คนละหนึ่งชุดพร้อมทั้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมประจำสัปดาห์ด้วย
การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกองนี้มีประโยชน์มาก ทำให้ลูกเสือวิสามัญเกิดความสนใจและสนุกยิ่งขึ้นในการเข้ามาเป็นลูกเสือวิสามัญ เพราะเป็นกิจกรรมของเขาที่เขาได้ช่วยกันจัดทำขึ้น และเพื่อประโยชน์ของเขาเอง
(2) การฝึกอบรมเพื่อรับเครื่องหมายลูกเสือโลก สำหรับเตรียมลูกเสือวิสามัญ ซึ่งควรจะสอบได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันสมัคร
(3) การฝึกอบรมเพื่อรับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร เครื่องหมายลูกเสือโลกมาแล้ว และได้เข้าพิธีประจำกองแล้ว
(4) ให้ถือว่าการรับหน้าที่ในคณะกรรมการประจำกองหรือพี่เลี้ยง เป็นการฝึกอบรมที่สำคัญส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ
หมวด 1 การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง (Collective Training)
การประกอบกิจกรรมร่วมกันทั้งกองนี้ มีเรื่องที่จะทำได้มากมายหลายอย่าง ตามความคิดและความต้องการของกองลูกเสือวิสามัญ เช่น
(1) การฝึกอบรมด้วยกัน (Training Together)
1.1 ลูกเสือวิสามัญอาจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ทั่วไป และขั้นความรู้เบื้องต้นของการลูกเสือทั้ง 4 ประเภท คือลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ
1.2 ฝึกอบรมในการปฏิบัติกิจกรรมพื้นฐานของลูกเสือ เช่น การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม การบุกเบิก การสำรวจ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม การนิยมชีวิตกลางแจ้ง การเล่นกีฬา การปฏิบัติตามคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ และโดยเฉพาะลูกเสือวิสามัญจะต้องพยายามยึดมั่นและปฏิบัติตามคติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ คือ “บริการ” อย่างจริงใจ 1.3 ฝึกอบรมในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่เยาวชนในวัยลูกเสือวิสามัญควรรู้ เช่น ว่ายน้ำเป็น การปฐมพยาบาลในระดับความรู้ชั้นสูง
การขับขี่รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ การขับรถยนต์ การขับเรือยนต์ ยิงปืนเป็น ถ่ายรูปเป็น รู้จักการช่างไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รู้จักใช้และสามารถแก้เครื่องวิทยุและเครื่องโทรทัศน์ที่มีข้อบกพร่องเล็กน้อยได้
(2) การทำสิ่งของต่าง ๆ ด้วยกัน (Making Thing Together)
ได้แก่การจัดทำและทดลองใช้อุปกรณ์สำหรับการอยู่ค่ายพักแรมและการบุกเบิก เช่น การทำสะพานเชือก หรือบันไดเชือก ที่พักแรม ฯลฯ
การทำแผนที่ หุ่นจำลอง
การทำที่หุงต้มอาหาร การครัว การจัดโต๊ะอาหาร และการรับประทานอาหารด้วยกัน
การเตรียมการแสดงสำหรับการชุมนุมรอบกองไฟ
การทำสิ่งของต่าง ๆ ด้วยกันตามโครงการ เช่น การก่อสร้างและการจัดคูหาลูกเสือวิสามัญ การสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง การต่อเรือ การสร้างและจัดเรือนเพาะชำ ฯลฯ
(3) การเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together)
เรื่องนี้ได้แก่การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย หรือเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ลูกเสือวิสามัญสนใจ เช่น การอาชีพ งานอดิเรก
การศาสนา วัฒนธรรม และงานประจำปี
การต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการเกี่ยวข้องกับประเทศไทย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องราวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่าง ๆ
ความรู้เรื่องเมืองไทย บุคคล และสถานที่สำคัญ
งานของหน่วยราชการ องค์การ และบริษัทต่าง ๆ
(4) การไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ด้วยกัน (Going Places Together)
เช่น การไปเยือนพิพิธภัณฑ์ ท้องฟ้าจำลอง วัดวาอาราม และสถานที่สำคัญ
โรงพิมพ์ สำนักงานหนังสือพิมพ์
โรงงานผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค เครื่องดื่ม เครื่องปั้นดินเผา
สถานีตำรวจ การพิจารณาคดีของศาลสถิตยุติธรรม เรือนจำ
การไปต่างจังหวัดเพื่อเป็นการพักผ่อน และศึกษาหาความรู้
(5) การช่วยเหลือประชาชนด้วยกัน (Helping People Together)
ได้แก่ การช่วยเหลือองค์การกุศลด้วยประการต่าง ๆ เช่น การจัดสถานที่ การรักษาการ การรับเงินบริจาค
การช่วยเหลือในการจราจร เช่น การช่วยให้คนเดินข้ามถนน การข้ามทางม้าลาย
การช่วยทำความสะอาดวัด
การกำจัดผักตบชวา
การช่วยกันคนมิให้รุกล้ำที่หวงห้าม
การช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย การช่วยเหลือเด็ก สตรี คนพิการ และคนชรา
การบริจาคโลหิตให้แก่โรงพยาบาล
การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาชุมชนของท้องถิ่น
หมวด 2 เครื่องหมายลูกเสือไทย
ลักษณะเครื่องหมาย
เป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.3 ซม. ตามแบบ มีตรา
เครื่องหมายหัวลูกศรสีขาวบนพื้นสีม่วง ล้อมรอบด้วยเชือกสีขาวเป็นรูป
วงกลม ผูกเป็นเงื่อนพิรอดอยู่เบื้องล่าง
เครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือ
วิสามัญ ที่ได้ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรแล้ว และติดที่กึ่งกลาง -
กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
หลักสูตร
1. แสดงว่าเข้าใจเรื่องราวต่อไปนี้พอสมควร
1.1 กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ
1.2 กิจการของลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ
1.3 บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นลูกเสือวิสามัญ
2. เข้าใจ ยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออย่างผู้ใหญ่
3. เข้าใจเรื่องระเบียบแถว และปฏิบัติตามหนังสือคู่มือการฝึกระเบียบแถวลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
4. กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรมในเวลากลางคืนกับลูกเสือวิสามัญอีกคนหนึ่ง
5. สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่างถูกต้อง สำหรับการเดินทางไกลไปพักแรมค้างคืน
6. ก่อและจุดไฟกลางแจ้ง แล้วปรุงอาหารอย่างเพียงพอสำหรับ 2 คน
7. สามารถอ่านและใช้แผนที่ เข็มทิศ และรู้จักบริเวณที่ตนอยู่ โดยพิจารณาจากเข็มทิศและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
8. สามารถผูกและรู้จักประโยชน์เงื่อน 10 เงื่อน ต่อไปนี้ คือ เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนผูกกระหวัดไม้ เงื่อนบ่วงสายธนู เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนประมง เงื่อนผูกซุง เงื่อนผูกรั้ง เงื่อนปมตาไก่ และการผูกแน่น (ผูกทแยง ผูกกากบาท ผูกประกบ)
9. รู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ในเรื่องต่อไปนี้ คือ บาดแผลธรรมดา ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นลม งูกัด แมงมุมกัด แมลงกัดต่อย ผิวหนังถลอก และเท้าแพลง
10. รู้เรื่องที่พึงระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยทั่วไป เกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือวิสามัญ
หมวด 3
เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
วิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ มี 11 วิชา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 วิชาการลูกเสือ
หลักสูตร
(1) ได้รับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น ประเภท -
ลูกเสือสำรองหรือลูกเสือวิสามัญ อย่างใดอย่างหนึ่ง
(2) ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ผู้กำกับลูกเสือสำรองหรือลูกเสือสามัญใน
กองลูกเสือเป็นที่พอใจของผู้กำกับลูกเสือในกองนั้น ๆ เป็นเวลา –
ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
ข้อ 2 เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม
หลักสูตร
(1) เดินทางไกลไปกับลูกเสือวิสามัญเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน (อยู่ที่ ค่ายพักแรม 3 คืน) หรือทางไกลไปกับลูกเสือวิสามัญ 2 ครั้ง
แต่ละครั้งใช้เวลา 48 ชั่วโมง โดยอยู่ค่ายพักแรม 2 คืน ไม่นับเวลา
เดินทางไปและกลับ การเดินทางไกลดังกล่าว ลูกเสือจัดการเอง –
โดยตลอด ทั้งนี้ ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ -
การเดินทางไกลและแรมคืน ต้องได้มาตรฐานสูง
การเดินทางไกล จะไปทางบกหรือทางน้ำ ภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้
ต้องแสดงว่าในการเดินทางต้องใช้ความอดทน การพึ่งตนเอง ความคิดริเริ่ม ความมานะและการเป็นผู้นำ กับต้องทำสมุดปูมรายงานการเดินทางยื่นต่อผู้กำกับลูกเสือวิสามัญด้วย
ข้อ 3 วิชาโครงการ
หลักสูตร
(1) เลือกวางโครงการและสละเวลาทำงานตามโครงการอย่างน้อย -
6 เดือน และบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วย
ให้เสนอรายงานความก้าวหน้าตามโครงการต่อผู้กำกับลูกเสือ-
วิสามัญอย่างน้อย 3 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ และอาจ
เสนอแผนภูมิแผนที่ประกอบด้วยก็ได้
(2) โครงการหมายถึงงานที่จัดทำขึ้นเองโดยใช้ทักษะ มีผลใช้ประโยชน์ได้
ลูกเสือเป็นผู้เลือกเอง ลูกเสือเลือกเรื่องใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับลูกเสือ -
วิสามัญก่อน
(3) เมื่อลูกเสือได้ปฏิบัติสำเร็จตามโครงการแล้ว ให้แสดงผลงานว่าได้มาตรฐานและเป็นที่พอใจ -
ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ
ข้อ 4 วิชาบริการ
หลักสูตร
(1) ทำหน้าที่พี่เลี้ยงของลูกเสือวิสามัญที่เข้าใหม่
(2) ทำหน้าที่เป็นกรรมการของกอง
(3) บำเพ็ญประโยชน์ต่อกองลูกเสือของตนไม่น้อยกว่า 9 ครั้ง
(4) บำเพ็ญประโยชน์ต่อกองลูกเสืออื่นไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง
(5) บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
ข้อ 5 วิชาผู้ฝึกสอน
หลักสูตร
(1) ผ่านการฝึกอบรมขั้นความรู้เบื้องต้น (B.T.C.) ประเภทใดประเภท -
หนึ่งของหลักสูตรลูกเสือสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่
(2) สามารถทำการสอนวิชาลูกเสือตามประเภทที่ตนรับการอบรม -
มาแล้วอย่างน้อย 2 วิชา
(3) ได้ทำการสอนเป็นที่พอใจของผู้กำกับกองนั้น ๆ เป็นเวลา 3 เดือน
โดยให้สอนอย่างน้อย 2 วิชา วิชาละ 3 ครั้ง
ข้อ 6 วิชายิงปืน
หลักสูตร
(1) รู้จักกฎแห่งความปลอดภัยเกี่ยวกับการยิงปืนว่าต้องมาก่อนอื่นใด
รู้จักส่วนต่าง ๆ ของปืนและวิธีใช้ การรักษา และการทำความ –
สะอาด
(2) แสดงเป้าตามกำหนดที่ยิงได้ด้วยตนเองภายใน 6 สัปดาห์ที่แล้ว -
สำหรับการทดสอบได้ทำแต้มไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ เป้าที่ยิง -
จะต้องได้รับการรับรองจากผู้สอนตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้
(3) ภาคปฏิบัติการยิงปืน ใช้ปืนยาวอัดลมและปืนไรเฟิลลูกกรด
ก. ปืนยาวอัดลม ระยะยิง 25 ฟุต ท่ายิง ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน
ท่าคุกเข่า ใช้เป้ามาตรฐานของ เอ็น.อาร์.เอ. ชนิดเป้าละ 5
ตาวัว ยิงตาวัวละ 5 นัด รวมยิงท่าละ 25 เม็ด กำหนดเวลา-
ยิงนัดละ 1 นาที
การตัดสิน โดยนับเป้าตาวัวที่ได้แต้มต่ำที่สุดและแต้มต่ำสุดของแต่ละเป้าตาวัวต้องไม่ต่ำกว่า
1. ท่านอน 40 แต้ม
2. ท่านั่ง 35 แต้ม
3. ท่าคุกเข่า 35 แต้ม
4. ท่ายืน 30 แต้ม
ข. ปืนไรเฟิลลูกกรด ระยะยิง 50 ฟุต ท่ายิง ท่านอน ท่านั่ง ท่าคุกเข่า ท่ายืนใช้เป้ามาตรฐาน
ของ เอ็น.อาร์.เอ. ชนิดเป้าละ 5 ตาวัว ยิงตาวัวละ 2 นัด รวมยิงท่าละ 10 นัด กำหนด-
เวลายิง นัดละ 1 นาที
การตัดสิน โดยนับเป้าตาวัวที่ได้แต้มต่ำที่สุดและแต้มต่ำที่สุดของแต่ละเป้าตาวัว ต้องไม่ต่ำกว่า
1. ท่านอน 16 แต้ม
2. ท่านั่ง 14 แต้ม
3. ท่าคุกเข่า 14 แต้ม
4. ท่ายืน 12 แต้ม
หมายเหตุ การยิง ต้องยิงตามลำดับท่า
(4) ลักษณะปืนที่ใช้ในภาคปฏิบัติ
ก. ปืนที่ใช้ห้ามติดศูนย์กล้อง
ข. การบรรจุกระสุน ใช้บรรจุยิงทีละ 1 นัด
(5) ต้องทำการสอบข้อเขียนได้ไม่ต่ำกว่า 80% และภาคปฏิบัติได้แต้มไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้
ข้อ 7 วิชาศิลปประยุกต์
หลักสูตร
ให้เลือกปฏิบัติ 5 ข้อ ใน 9 ข้อ จนเป็นที่พอใจของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ
(1) สามารถออกแบบตัวอักษรชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในงานพาณิชยศิลป์
ตามความเหมาะสมของการโฆษณาประกอบการใช้สีจำนวน 2 ภาพ
ตามขนาดและข้อความตามที่ผู้กำกับกำหนด
(2) สามารถออกแบบปกหนังสือและปกงานพิมพ์ต่าง ๆ จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดและข้อความ
ที่ผู้กำกับกำหนด
(3) สามารถเขียนภาพประกอบเรื่อง ตามจินตนาการและความรู้สึกด้วยวิธีการต่าง ๆ และ
เครื่องมือต่าง ๆ เช่น ดินสอ สีเมจิก ฯลฯ จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด
(4) สามารถเขียนภาพการ์ตูนเกี่ยวกับลูกเสือด้วยลายเส้น สีเดียวและหลายสี อย่างละ 1 ภาพ
ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด
(5) สามารถออกแบบเครื่องหมาย สัญลักษณ์ สื่อความหมาย หรือรูปแบบประกอบตัวอักษรที่ -
เกี่ยวกับลูกเสือ หรือเอกลักษณ์ของไทย จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด
(6) สามารถสร้างรูปจำลอง การจัดตกแต่งสวนและบริเวณ โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุ -
และสิ่งของ เพื่อนำมาตกแต่ง ปฏิบัติการขนาดเล็กตามที่ผู้กำกับกำหนด
(7) สามารถประยุกต์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือเครื่องใช้สอยในครัวเรือน ให้เกิดความเหมาะสม
กับสังคมปัจจุบัน ตาที่ผู้กำกับกำหนด
(8) สามารถปั้น ทำแม่พิมพ์ชิ้นและแม่พิมพ์ทุบ และการหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ เป็นเครื่องเล่น -
เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือนได้ จำนวน 2 ชิ้น ด้วยแม่พิมพ์ทุบ 6 ชิ้น และแม่พิมพ์ชิ้น -
1 ชิ้น ตามที่ผู้กำกับกำหนด
(9) สามารถทำภาพพิมพ์โดยการออกแบบ งานพิมพ์ แม่พิมพ์ การพิมพ์ แม่พิมพ์ไม้ การพิมพ์ -
แม่พิมพ์ผ้าไทย เทคนิคการทำแม่พิมพ์ด้วยน้ำยาไวแสง การถ่ายด้วยแสงแดด สปอทไลท์-
และแสงนีออน อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ชิ้น ตามขนาดและสีที่ผู้กำกับกำหนด
หลักสูตร
(1) รู้และสามารถปฏิบัติตามหลักทั่วไปของการปฐมพยาบาล และ - ข้อควรจำของการปฐมพยาบาล
(2) รู้และสามารถสาธิตเรื่องต่อไปนี้
วิธีการห้ามเลือด
วิธีแก้ไขอาการงัน (Shock)
วิธีการช่วยหายใจหรือผายปอด นวดหัวใจ
วิธีการขนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ
รู้จักอาการของเรื่องกระดูกหักในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
วิธีการเข้าเฝือกชั่วคราว
วิธีแก้บาดแผลมีพิษ
(3) เรียนรู้ถึงโรคบางชนิดที่พบบ่อย ๆ ในการเข้าค่ายพักแรมงานชุมนุม และยาที่ใช้ในการรักษา -
อย่างสังเขป
(4) การทดสอบวิชาปฐมพยาบาล ให้มีภาคปฏิบัติและทดสอบด้วย คือ สามารถปฏิบัติได้ สาธิต
ได้ จนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการสอบ
ข้อ 9 วิชาอิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตร
(1) สามารถเขียนวงจรเครื่องรับวิทยุ เอฟ.เอ็ม. อย่างง่ายและจัดทำเป็น
(Printed Circuit) กับใส่อุปกรณ์ทุกอย่างให้เข้าที่ครบถ้วน และใช้
เครื่องรับวิทยุที่สร้างขึ้นนั้นอย่างได้ผล
(2) มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Integrated Circuit. (IC.) และสามารถนำไปใช้งานใน
(Printed Circuit) กับใส่อุปกรณ์ทุกอย่างให้เข้าที่ครบถ้วน และใช้
เครื่องรับวิทยุที่สร้างขึ้นนั้นอย่างได้ผล
(2) มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Integrated Circuit. (IC.) และสามารถนำไปใช้งานใน
เครื่องรับวิทยุ หรือเครื่องอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อย 1 อย่าง
(3) สามารถติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ เพื่อใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์ขาวดำและสีโดยให้รับสัญญาณ
ภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกสถานี
ข้อ 10 วิชาสังคมสงเคราะห์
หลักสูตร
มีความรู้และสามารถชี้แจงเรื่องราวตามหัวข้อต่อไปนี้ได้ดีพอสมควร
(1) ปัญหาสังคม
(2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรมประชาสงเคราะห์ และการสังคม -
สงเคราะห์
(3) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับการสงเคราะห์
(4) บทบาทและหน้าที่ของงานประชาสงเคราะห์
(5) การสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น
(6) การสงเคราะห์ครอบครัวคนชรา คนพิการ คนขอทาน และคนไร้ที่พึ่ง
(7) การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
(9) การออกหน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(10) บทบาทและหน้าที่ของลูกเสือในสงเคราะห์ผู้ประสบภัย อัคคีภัย อุทกภัยและวาตภัย
(11) การจัดที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย
(12) การรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้สำหรับผู้ประสบภัย
ข้อ 11 วิชาขับรถยนต์
หลักสูตร
(1) มีความรู้ ความสามารถในเรื่องต่อไปนี้
ก. ขับรถยนต์ได้
ข. ซ่อมเครื่องหรือข้อบกพร่องเล็กน้อย และเปลี่ยนยางรถยนต์ได้
(2) สามารถผ่านการทดสอบและได้รับใบขับขี่รถยนต์จากกองทะเบียน กรมตำรวจ
(3) รู้จักและสามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้
ข้อ 12 เครื่องหมายวชิราวุธ
หลักสูตร
(1) ได้รับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญอย่างน้อย 5 วิชา
(2) ผู้กำกับลูกเสือ หรือผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ รับรองว่าเป็นผู้ดำเนิน
ชีวิตตามแบบลูกเสือและปฏิบัติตามคติพจน์ว่า“บริการ”โดยเคร่งครัด
(3) เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ผู้อำนวยการ
ลูกเสืออำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณวุฒิเหมาะสมทำการสัมภาษณ์ เมื่อ
เห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมก็ให้รายงานไปตามลำดับ จนถึงคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
เพื่อขออนุมัติ
หมวด 4
การทำหน้าที่คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญและบทบาทของพี่น้อง
1. คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญ
คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญ ประกอบด้วยหัวหน้านายหมู่เป็นประธาน ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่เป็นรองประธาน กับให้นายหมู่ รองนายหมู่ในกองนั้น เป็นกรรมการ แล้วเลือกกันเองเป็นกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม กรรมการกีฬา กรรมการนันทนาการ กรรมการกลาง ฯ และนำเสนอผู้กำกับพิจารณาอนุมัติและสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการประจำกองให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้านายหมู่ ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ และกรรมการดำเนินงานของกองบ้าง แต่ในบางกรณีที่ประชุมนายหมู่อาจเสนอให้ผู้กำกับพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำกองชุดเดิม ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีก หรือจะให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่บางตำแหน่งก็ได้
ให้มีการประชุมคณะกรรมการประจำกองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ในการประชุมให้หัวหน้านายหมู่เป็นประธานที่ประชุม ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ 1 คน เป็นรองประธาน เลขานุการเป็นผู้จดรายงานการประชุม ส่วนผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่เข้าประชุมด้วยให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
คณะกรรมการประจำกองมีหน้าที่ดังนี้
(1) วางแผนและจัดกิจกรรมในวันประชุมกองประจำสัปดาห์
(2) ในกรณีที่มีกิจกรรมพิเศษ อาจพิจารณาแต่งตั้งลูกเสือวิสามัญในกองคนหนึ่งให้เป็นหัวหน้ากิจกรรมนั้น
(3) บริหารกิจการภายในกองลูกเสือ
(4) รักษาเกียรติของกองลูกเสือ
(5) ควบคุมการรับจ่ายเงินของกองลูกเสือ
(6) ให้ประธานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนของกองในการติดต่อกับบุคคลภายนอก
(7) จัดให้มีคูหา (Den) ของกอง ขนาดอย่างน้อย 4 x 6 เมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่อเนกประสงค์ของกอง
(8) คัดเลือกลูกเสือวิสามัญอาวุโส 1 หรือ 2 คน ที่รอบรู้งานลูกเสือวิสามัญ เพื่อให้ทำหน้าที่ พี่เลี้ยง (Sponsor) เตรียมลูกเสือวิสามัญ (Rover Squire) แต่ละคนจนกว่าเตรียมลูกเสือวิสามัญนั้น จะผ่านหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก การสำรวจตัวเอง (Vivil) และได้เข้าประจำกอง (Investiture) เป็นลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) โดยสมบูรณ์
งานสำคัญอย่างหนึ่งของการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ คือ การรับหน้าที่เป็นกรรมการประจำกอง เพื่อช่วยดำเนินงานของกองภายใต้การนำและควบคุมดูแลของผู้กำกับ
2. บทบาทของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงมีหน้าที่ดังนี้
(1) เป็นเพื่อนที่ดีหรือเป็นพี่ที่มีความปรารถนาดีต่อเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนน้อง และอาจจะยังไม่เข้าใจว่าควรปฏิบัติหรือบำเพ็ญตนอย่างไรในกองลูกเสือวิสามัญ
(2) เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ในเรื่องต่าง ๆ โดยทั่วไป
(3) ช่วยเหลือ ชี้แจง แนะนำ เตรียมลูกเสือวิสามัญในเรื่องธรรมเนียมประเพณีของกอง
(4) ช่วยเหลือ ชี้แจง แนะนำ เตรียมลูกเสือวิสามัญในการฝึกอบรมตามหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก
(5) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพิธีเข้าประจำกองของเตรียมลูกเสือวิสามัญที่ตนได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยง
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ควรถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติ และควรปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างจริงจัง นอกจากนั้นการรับหน้าที่นี้ ยังมีประโยชน์แก่ตัวพี่เลี้ยงเอง คือเท่ากับเป็นการฝึกอบรมในเรื่องการเป็นผู้นำตามตัวอย่าง นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยเหลืองานของกองลูกเสือวิสามัญในการฝึกอบรม เตรียมลูกเสือวิสามัญให้มีคุณภาพและเป็นกำลังของกองต่อไปอีกด้วย
ลูกเสือวิสามัญทุกคนในกอง ควรมีโอกาสได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงอย่างน้อยครั้งหนึ่งในโอกาสอันควร
สำหรับกองที่ตั้งใหม่ ย่อมไม่มีลูกเสือวิสามัญอาวุโส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ในกรณีเช่นนี้ควรมอบหมายให้รองผู้กำกับทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง หรือเป็นที่ปรึกษาของเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ซึ่งอาจจะมีจำนวนหลายคนก็ได้
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
การสอบวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
จากข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2529 ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ เสนอให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือสโมสรลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการสอบวิชาลูกเสือวิสามัญ โดยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำเนินการสอบ และเมื่อดำเนินการสอบเครื่องหมายลูกเสือโลกหรือเครื่องหมายวิชาพิเศษแล้ว ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติ และให้ประดับเครื่องหมายนั้น ๆ ได้
หมายเหตุ
1. การสอบวิชาพิเศษ อาจทำในขณะที่ไปอยู่ค่ายพักแรม และจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้
2. การสอบให้ดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้แต่ละวิชา โดยมุ่งถึงคุณภาพ และการปฏิบัติได้จริงจังเป็นสำคัญ เมื่อลูกเสือคนใดสอบได้ก็ให้กรรมการสอบลงนามรับรองในสมุดประจำตัวลูกเสือวิสามัญ (ล.ส.18) และเมื่อเสร็จสิ้นการสอบแล้วให้ผู้กำกับกรอกผลการสอบลงในทะเบียนกองลูกเสือวิสามัญ (ล.ส.9) ให้ตรงกัน
3. การสอบวิชาพิเศษนั้นไม่มีการเก็บผลไว้ ถ้าสอบไม่ได้ก็ให้สอบใหม่ทุกคราว
การประดับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
ทำด้วยผ้าสีขาบ รูปไข่ ยาว 4 ซม. กว้าง 3.5 ซม. ขลิบริมสีเหลือง มีอักษร ล.ว. อยู่ที่ริมด้านล่าง มีรูปต่าง ๆ กัน ดังนี้
1. วิชาการลูกเสือ รูปดาว 6 แฉกสีเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า
2. เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ตรงกลางเป็นรูปนักเดินทางไกล มีเครื่องหลังและมือถือไม้สีทอง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
3. วิชาโครงการ รูปใบไม้สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า
4. วิชาบริการ รูปดาว 6 แฉกสีทอง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า
5. วิชาผู้ฝึกสอน รูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ และคำว่า “ผู้ฝึกสอน” สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า
6. วิชายิงปืน รูปปืนไรเฟิลสองกระบอกไขว้สีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
3. การสอบวิชาพิเศษนั้นไม่มีการเก็บผลไว้ ถ้าสอบไม่ได้ก็ให้สอบใหม่ทุกคราว
เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
ทำด้วยผ้าสีขาบ รูปไข่ ยาว 4 ซม. กว้าง 3.5 ซม. ขลิบริมสีเหลือง มีอักษร ล.ว. อยู่ที่ริมด้านล่าง มีรูปต่าง ๆ กัน ดังนี้
1. วิชาการลูกเสือ รูปดาว 6 แฉกสีเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า
2. เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ตรงกลางเป็นรูปนักเดินทางไกล มีเครื่องหลังและมือถือไม้สีทอง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
3. วิชาโครงการ รูปใบไม้สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า
4. วิชาบริการ รูปดาว 6 แฉกสีทอง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า
5. วิชาผู้ฝึกสอน รูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ และคำว่า “ผู้ฝึกสอน” สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า
6. วิชายิงปืน รูปปืนไรเฟิลสองกระบอกไขว้สีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
7. วิชาศิลปประยุกต์ รูปจานสี และพู่กันสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบ ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
8. วิชาปฐมพยาบาล รูปกากบาทสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
9. วิชาอิเล็กทรอนิกส์ รูปคลื่นไฟฟ้าสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
10. วิชาสังคมสงเคราะห์ รูปพระประชาบดีสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
11. วิชาขับรถยนต์ รูปพวงมาลัยรถยนต์สีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด
12. เครื่องหมายวชิราวุธ รูปวชิราวุธในพระมหามงกุฎ เปล่งรัศมีสีเหลือง ติดที่อกเสื้อด้านขวาเหนือกระเป๋าใช้ได้เฉพาะลูกเสือวิสามัญ ซึ่งสอบได้วิชาพิเศษตามที่กำหนดในหลักสูตร
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ
แนวทางการเขียนโครงการ
โครงการ แต่ละโครงการมีองค์ประกอบดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ (องค์การหรือหน่วยงาน)
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์
5. เป้าหมาย (ระบุให้ชัดเจนถึงจำนวนเป็นหน่วยที่จะได้รับผลโดยตรงจากโครงการ)
6. วิธีดำเนินงาน (รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการหรือหน่วยงานเดี่ยว และมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอย่างไร)
7. ระยะเวลาการดำเนินงาน
8. สถานที่ดำเนินงาน
9. งบประมาณ
10. การติดตามผล
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. เป็นโครงการต่อเนื่องหรือโครงการใหม่
13. ปัญหาและอุปสรรค
เยดโด้
ตอบลบเยดเข้
ตอบลบ