ประชาสัมพันธ์

ยินดีต้อนรับสู่ กองลูกเสือโรงเรียนหัวหิน ข่าวและกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่-เนตรนารี ลูกเสือวิสามัญ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ

หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ

ลูกเสือวิสามัญแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้

(1) เตรียมลูกเสือวิสามัญ (Rover Squire) (ระยะทดลอง)

(2) ลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) (ต้องได้เข้าพิธีประจำกองแล้ว)

การฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ

การฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ มี 4 อย่างดังนี้ คือ

(1) การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาลูกเสือวิสามัญในเรื่องสติปัญญา จิตใจ ศีลธรรม การสังคม และอื่น ๆ ควรมีการฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง โดยให้ลูกเสือวิสามัญและเตรียมลูกเสือวิสามัญทุกคน ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในวันประชุมประจำ

สัปดาห์ ตามที่คณะกรรมการประจำกองเป็นผู้วางแผนและกำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับและที่ประชุมลูกเสือวิสามัญ 

ลูกเสือวิสามัญรวมทั้งเตรียมลูกเสือวิสามัญ ควรมีกำหนดการฝึกอบรมร่วมกันทั้งกองดังกล่าวข้างต้น คนละหนึ่งชุดพร้อมทั้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมประจำสัปดาห์ด้วย 

การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกองนี้มีประโยชน์มาก ทำให้ลูกเสือวิสามัญเกิดความสนใจและสนุกยิ่งขึ้นในการเข้ามาเป็นลูกเสือวิสามัญ เพราะเป็นกิจกรรมของเขาที่เขาได้ช่วยกันจัดทำขึ้น และเพื่อประโยชน์ของเขาเอง 

(2) การฝึกอบรมเพื่อรับเครื่องหมายลูกเสือโลก สำหรับเตรียมลูกเสือวิสามัญ ซึ่งควรจะสอบได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันสมัคร

(3) การฝึกอบรมเพื่อรับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร เครื่องหมายลูกเสือโลกมาแล้ว และได้เข้าพิธีประจำกองแล้ว 

(4) ให้ถือว่าการรับหน้าที่ในคณะกรรมการประจำกองหรือพี่เลี้ยง เป็นการฝึกอบรมที่สำคัญส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ 

หมวด 1 การฝึกอบรมร่วมกันทั้งกอง (Collective Training) 

การประกอบกิจกรรมร่วมกันทั้งกองนี้ มีเรื่องที่จะทำได้มากมายหลายอย่าง ตามความคิดและความต้องการของกองลูกเสือวิสามัญ เช่น

(1) การฝึกอบรมด้วยกัน (Training Together) 

1.1 ลูกเสือวิสามัญอาจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ทั่วไป และขั้นความรู้เบื้องต้นของการลูกเสือทั้ง 4 ประเภท คือลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ 

1.2 ฝึกอบรมในการปฏิบัติกิจกรรมพื้นฐานของลูกเสือ เช่น การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม การบุกเบิก การสำรวจ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม การนิยมชีวิตกลางแจ้ง การเล่นกีฬา การปฏิบัติตามคำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ และโดยเฉพาะลูกเสือวิสามัญจะต้องพยายามยึดมั่นและปฏิบัติตามคติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ คือ “บริการ” อย่างจริงใจ 1.3 ฝึกอบรมในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่เยาวชนในวัยลูกเสือวิสามัญควรรู้ เช่น ว่ายน้ำเป็น การปฐมพยาบาลในระดับความรู้ชั้นสูง

การขับขี่รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ การขับรถยนต์ การขับเรือยนต์ ยิงปืนเป็น ถ่ายรูปเป็น รู้จักการช่างไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รู้จักใช้และสามารถแก้เครื่องวิทยุและเครื่องโทรทัศน์ที่มีข้อบกพร่องเล็กน้อยได้ 

(2) การทำสิ่งของต่าง ๆ ด้วยกัน (Making Thing Together) 

ได้แก่การจัดทำและทดลองใช้อุปกรณ์สำหรับการอยู่ค่ายพักแรมและการบุกเบิก เช่น การทำสะพานเชือก หรือบันไดเชือก ที่พักแรม ฯลฯ 

การทำแผนที่ หุ่นจำลอง 

การทำที่หุงต้มอาหาร การครัว การจัดโต๊ะอาหาร และการรับประทานอาหารด้วยกัน 

การเตรียมการแสดงสำหรับการชุมนุมรอบกองไฟ 

การทำสิ่งของต่าง ๆ ด้วยกันตามโครงการ เช่น การก่อสร้างและการจัดคูหาลูกเสือวิสามัญ การสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง การต่อเรือ การสร้างและจัดเรือนเพาะชำ ฯลฯ 

(3) การเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together) 

เรื่องนี้ได้แก่การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย หรือเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ลูกเสือวิสามัญสนใจ เช่น การอาชีพ งานอดิเรก 

การศาสนา วัฒนธรรม และงานประจำปี 

การต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการเกี่ยวข้องกับประเทศไทย 

การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเรื่องราวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่าง ๆ 

ความรู้เรื่องเมืองไทย บุคคล และสถานที่สำคัญ 

งานของหน่วยราชการ องค์การ และบริษัทต่าง ๆ

(4) การไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ด้วยกัน (Going Places Together) 

เช่น การไปเยือนพิพิธภัณฑ์ ท้องฟ้าจำลอง วัดวาอาราม และสถานที่สำคัญ 

โรงพิมพ์ สำนักงานหนังสือพิมพ์ 

โรงงานผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค เครื่องดื่ม เครื่องปั้นดินเผา 

สถานีตำรวจ การพิจารณาคดีของศาลสถิตยุติธรรม เรือนจำ 

การไปต่างจังหวัดเพื่อเป็นการพักผ่อน และศึกษาหาความรู้ 

(5) การช่วยเหลือประชาชนด้วยกัน (Helping People Together) 

ได้แก่ การช่วยเหลือองค์การกุศลด้วยประการต่าง ๆ เช่น การจัดสถานที่ การรักษาการ การรับเงินบริจาค 

การช่วยเหลือในการจราจร เช่น การช่วยให้คนเดินข้ามถนน การข้ามทางม้าลาย 

การช่วยทำความสะอาดวัด 

การกำจัดผักตบชวา 

การช่วยกันคนมิให้รุกล้ำที่หวงห้าม 

การช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย การช่วยเหลือเด็ก สตรี คนพิการ และคนชรา 

การบริจาคโลหิตให้แก่โรงพยาบาล 

การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาชุมชนของท้องถิ่น 

หมวด 2 เครื่องหมายลูกเสือไทย 

ลักษณะเครื่องหมาย

เป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.3 ซม. ตามแบบ มีตรา 

เครื่องหมายหัวลูกศรสีขาวบนพื้นสีม่วง ล้อมรอบด้วยเชือกสีขาวเป็นรูป 

วงกลม ผูกเป็นเงื่อนพิรอดอยู่เบื้องล่าง 

เครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือ 

วิสามัญ ที่ได้ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรแล้ว และติดที่กึ่งกลาง - 

กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย 

หลักสูตร 

1. แสดงว่าเข้าใจเรื่องราวต่อไปนี้พอสมควร 

1.1 กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ 

1.2 กิจการของลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ 

1.3 บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นลูกเสือวิสามัญ 

2. เข้าใจ ยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออย่างผู้ใหญ่ 

3. เข้าใจเรื่องระเบียบแถว และปฏิบัติตามหนังสือคู่มือการฝึกระเบียบแถวลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ 

4. กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรมในเวลากลางคืนกับลูกเสือวิสามัญอีกคนหนึ่ง 

5. สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่างถูกต้อง สำหรับการเดินทางไกลไปพักแรมค้างคืน 

6. ก่อและจุดไฟกลางแจ้ง แล้วปรุงอาหารอย่างเพียงพอสำหรับ 2 คน

7. สามารถอ่านและใช้แผนที่ เข็มทิศ และรู้จักบริเวณที่ตนอยู่ โดยพิจารณาจากเข็มทิศและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นด้วยตาเปล่า 

8. สามารถผูกและรู้จักประโยชน์เงื่อน 10 เงื่อน ต่อไปนี้ คือ เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนผูกกระหวัดไม้ เงื่อนบ่วงสายธนู เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนประมง เงื่อนผูกซุง เงื่อนผูกรั้ง เงื่อนปมตาไก่ และการผูกแน่น (ผูกทแยง ผูกกากบาท ผูกประกบ) 

9. รู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ในเรื่องต่อไปนี้ คือ บาดแผลธรรมดา ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นลม งูกัด แมงมุมกัด แมลงกัดต่อย ผิวหนังถลอก และเท้าแพลง 

10. รู้เรื่องที่พึงระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยทั่วไป เกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือวิสามัญ 

หมวด 3 

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ 

วิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ มี 11 วิชา ดังต่อไปนี้ 

ข้อ 1 วิชาการลูกเสือ 

หลักสูตร 

(1) ได้รับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้น ประเภท - 

ลูกเสือสำรองหรือลูกเสือวิสามัญ อย่างใดอย่างหนึ่ง 

(2) ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ผู้กำกับลูกเสือสำรองหรือลูกเสือสามัญใน 

กองลูกเสือเป็นที่พอใจของผู้กำกับลูกเสือในกองนั้น ๆ เป็นเวลา – 

ไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ข้อ 2 เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม 

หลักสูตร 

(1) เดินทางไกลไปกับลูกเสือวิสามัญเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน (อยู่ที่ ค่ายพักแรม 3 คืน) หรือทางไกลไปกับลูกเสือวิสามัญ 2 ครั้ง 

แต่ละครั้งใช้เวลา 48 ชั่วโมง โดยอยู่ค่ายพักแรม 2 คืน ไม่นับเวลา 

เดินทางไปและกลับ การเดินทางไกลดังกล่าว ลูกเสือจัดการเอง – 

โดยตลอด ทั้งนี้ ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ - 

การเดินทางไกลและแรมคืน ต้องได้มาตรฐานสูง 

การเดินทางไกล จะไปทางบกหรือทางน้ำ ภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ 

ต้องแสดงว่าในการเดินทางต้องใช้ความอดทน การพึ่งตนเอง ความคิดริเริ่ม ความมานะและการเป็นผู้นำ กับต้องทำสมุดปูมรายงานการเดินทางยื่นต่อผู้กำกับลูกเสือวิสามัญด้วย 

ข้อ 3 วิชาโครงการ 

หลักสูตร 

(1) เลือกวางโครงการและสละเวลาทำงานตามโครงการอย่างน้อย - 

6 เดือน และบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ด้วย 

ให้เสนอรายงานความก้าวหน้าตามโครงการต่อผู้กำกับลูกเสือ-

วิสามัญอย่างน้อย 3 ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ และอาจ 

เสนอแผนภูมิแผนที่ประกอบด้วยก็ได้ 

(2) โครงการหมายถึงงานที่จัดทำขึ้นเองโดยใช้ทักษะ มีผลใช้ประโยชน์ได้ 

ลูกเสือเป็นผู้เลือกเอง ลูกเสือเลือกเรื่องใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้กำกับลูกเสือ - 

วิสามัญก่อน 

(3) เมื่อลูกเสือได้ปฏิบัติสำเร็จตามโครงการแล้ว ให้แสดงผลงานว่าได้มาตรฐานและเป็นที่พอใจ - 

ผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ 

ข้อ 4 วิชาบริการ 

หลักสูตร 

(1) ทำหน้าที่พี่เลี้ยงของลูกเสือวิสามัญที่เข้าใหม่ 

(2) ทำหน้าที่เป็นกรรมการของกอง 

(3) บำเพ็ญประโยชน์ต่อกองลูกเสือของตนไม่น้อยกว่า 9 ครั้ง 

(4) บำเพ็ญประโยชน์ต่อกองลูกเสืออื่นไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง 

(5) บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง 

ข้อ 5 วิชาผู้ฝึกสอน 

หลักสูตร 

(1) ผ่านการฝึกอบรมขั้นความรู้เบื้องต้น (B.T.C.) ประเภทใดประเภท -

หนึ่งของหลักสูตรลูกเสือสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ 

(2) สามารถทำการสอนวิชาลูกเสือตามประเภทที่ตนรับการอบรม - 

มาแล้วอย่างน้อย 2 วิชา 

(3) ได้ทำการสอนเป็นที่พอใจของผู้กำกับกองนั้น ๆ เป็นเวลา 3 เดือน 

โดยให้สอนอย่างน้อย 2 วิชา วิชาละ 3 ครั้ง 

ข้อ 6 วิชายิงปืน 

หลักสูตร 

(1) รู้จักกฎแห่งความปลอดภัยเกี่ยวกับการยิงปืนว่าต้องมาก่อนอื่นใด 

รู้จักส่วนต่าง ๆ ของปืนและวิธีใช้ การรักษา และการทำความ – 

สะอาด 

(2) แสดงเป้าตามกำหนดที่ยิงได้ด้วยตนเองภายใน 6 สัปดาห์ที่แล้ว - 

สำหรับการทดสอบได้ทำแต้มไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ เป้าที่ยิง - 

จะต้องได้รับการรับรองจากผู้สอนตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ 

(3) ภาคปฏิบัติการยิงปืน ใช้ปืนยาวอัดลมและปืนไรเฟิลลูกกรด

ก. ปืนยาวอัดลม ระยะยิง 25 ฟุต ท่ายิง ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน 

ท่าคุกเข่า ใช้เป้ามาตรฐานของ เอ็น.อาร์.เอ. ชนิดเป้าละ 5 

ตาวัว ยิงตาวัวละ 5 นัด รวมยิงท่าละ 25 เม็ด กำหนดเวลา- 

ยิงนัดละ 1 นาที 

การตัดสิน โดยนับเป้าตาวัวที่ได้แต้มต่ำที่สุดและแต้มต่ำสุดของแต่ละเป้าตาวัวต้องไม่ต่ำกว่า 

1. ท่านอน 40 แต้ม 

2. ท่านั่ง 35 แต้ม 

3. ท่าคุกเข่า 35 แต้ม 

4. ท่ายืน 30 แต้ม 

ข. ปืนไรเฟิลลูกกรด ระยะยิง 50 ฟุต ท่ายิง ท่านอน ท่านั่ง ท่าคุกเข่า ท่ายืนใช้เป้ามาตรฐาน 

ของ เอ็น.อาร์.เอ. ชนิดเป้าละ 5 ตาวัว ยิงตาวัวละ 2 นัด รวมยิงท่าละ 10 นัด กำหนด- 

เวลายิง นัดละ 1 นาที 

การตัดสิน โดยนับเป้าตาวัวที่ได้แต้มต่ำที่สุดและแต้มต่ำที่สุดของแต่ละเป้าตาวัว ต้องไม่ต่ำกว่า 

1. ท่านอน 16 แต้ม 

2. ท่านั่ง 14 แต้ม 

3. ท่าคุกเข่า 14 แต้ม 

4. ท่ายืน 12 แต้ม 

หมายเหตุ การยิง ต้องยิงตามลำดับท่า 

(4) ลักษณะปืนที่ใช้ในภาคปฏิบัติ

ก. ปืนที่ใช้ห้ามติดศูนย์กล้อง 

ข. การบรรจุกระสุน ใช้บรรจุยิงทีละ 1 นัด 

(5) ต้องทำการสอบข้อเขียนได้ไม่ต่ำกว่า 80% และภาคปฏิบัติได้แต้มไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ 

ข้อ 7 วิชาศิลปประยุกต์ 

หลักสูตร 

ให้เลือกปฏิบัติ 5 ข้อ ใน 9 ข้อ จนเป็นที่พอใจของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ 

(1) สามารถออกแบบตัวอักษรชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในงานพาณิชยศิลป์ 

ตามความเหมาะสมของการโฆษณาประกอบการใช้สีจำนวน 2 ภาพ 

ตามขนาดและข้อความตามที่ผู้กำกับกำหนด 

(2) สามารถออกแบบปกหนังสือและปกงานพิมพ์ต่าง ๆ จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดและข้อความ 

ที่ผู้กำกับกำหนด 

(3) สามารถเขียนภาพประกอบเรื่อง ตามจินตนาการและความรู้สึกด้วยวิธีการต่าง ๆ และ 

เครื่องมือต่าง ๆ เช่น ดินสอ สีเมจิก ฯลฯ จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด 

(4) สามารถเขียนภาพการ์ตูนเกี่ยวกับลูกเสือด้วยลายเส้น สีเดียวและหลายสี อย่างละ 1 ภาพ 

ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด

(5) สามารถออกแบบเครื่องหมาย สัญลักษณ์ สื่อความหมาย หรือรูปแบบประกอบตัวอักษรที่ - 

เกี่ยวกับลูกเสือ หรือเอกลักษณ์ของไทย จำนวน 2 ภาพ ตามขนาดที่ผู้กำกับกำหนด 

(6) สามารถสร้างรูปจำลอง การจัดตกแต่งสวนและบริเวณ โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุ - 

และสิ่งของ เพื่อนำมาตกแต่ง ปฏิบัติการขนาดเล็กตามที่ผู้กำกับกำหนด 

(7) สามารถประยุกต์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือเครื่องใช้สอยในครัวเรือน ให้เกิดความเหมาะสม 

กับสังคมปัจจุบัน ตาที่ผู้กำกับกำหนด 

(8) สามารถปั้น ทำแม่พิมพ์ชิ้นและแม่พิมพ์ทุบ และการหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ เป็นเครื่องเล่น - 

เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือนได้ จำนวน 2 ชิ้น ด้วยแม่พิมพ์ทุบ 6 ชิ้น และแม่พิมพ์ชิ้น - 

1 ชิ้น ตามที่ผู้กำกับกำหนด 

(9) สามารถทำภาพพิมพ์โดยการออกแบบ งานพิมพ์ แม่พิมพ์ การพิมพ์ แม่พิมพ์ไม้ การพิมพ์ - 

แม่พิมพ์ผ้าไทย เทคนิคการทำแม่พิมพ์ด้วยน้ำยาไวแสง การถ่ายด้วยแสงแดด สปอทไลท์- 

และแสงนีออน อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ชิ้น ตามขนาดและสีที่ผู้กำกับกำหนด

ข้อ 8 วิชาปฐมพยาบาล

หลักสูตร

(1) รู้และสามารถปฏิบัติตามหลักทั่วไปของการปฐมพยาบาล และ - ข้อควรจำของการปฐมพยาบาล

(2) รู้และสามารถสาธิตเรื่องต่อไปนี้

วิธีการห้ามเลือด

วิธีแก้ไขอาการงัน (Shock)

วิธีการช่วยหายใจหรือผายปอด นวดหัวใจ

วิธีการขนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ

รู้จักอาการของเรื่องกระดูกหักในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

วิธีการเข้าเฝือกชั่วคราว

วิธีแก้บาดแผลมีพิษ

(3) เรียนรู้ถึงโรคบางชนิดที่พบบ่อย ๆ ในการเข้าค่ายพักแรมงานชุมนุม และยาที่ใช้ในการรักษา -

อย่างสังเขป

(4) การทดสอบวิชาปฐมพยาบาล ให้มีภาคปฏิบัติและทดสอบด้วย คือ สามารถปฏิบัติได้ สาธิต

ได้ จนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการสอบ

ข้อ 9 วิชาอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตร

(1) สามารถเขียนวงจรเครื่องรับวิทยุ เอฟ.เอ็ม. อย่างง่ายและจัดทำเป็น

(Printed Circuit) กับใส่อุปกรณ์ทุกอย่างให้เข้าที่ครบถ้วน และใช้

เครื่องรับวิทยุที่สร้างขึ้นนั้นอย่างได้ผล

(2) มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Integrated Circuit. (IC.) และสามารถนำไปใช้งานใน 

เครื่องรับวิทยุ หรือเครื่องอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อย 1 อย่าง

(3) สามารถติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ เพื่อใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์ขาวดำและสีโดยให้รับสัญญาณ

ภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกสถานี

ข้อ 10 วิชาสังคมสงเคราะห์

หลักสูตร

มีความรู้และสามารถชี้แจงเรื่องราวตามหัวข้อต่อไปนี้ได้ดีพอสมควร

(1) ปัญหาสังคม

(2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรมประชาสงเคราะห์ และการสังคม -

สงเคราะห์

(3) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับการสงเคราะห์

(4) บทบาทและหน้าที่ของงานประชาสงเคราะห์

(5) การสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น

(6) การสงเคราะห์ครอบครัวคนชรา คนพิการ คนขอทาน และคนไร้ที่พึ่ง

(7) การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

(8) องค์การสังคมสงเคราะห์เอกชนกับงานสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

(9) การออกหน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัย

(10) บทบาทและหน้าที่ของลูกเสือในสงเคราะห์ผู้ประสบภัย อัคคีภัย อุทกภัยและวาตภัย

(11) การจัดที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย

(12) การรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้สำหรับผู้ประสบภัย

ข้อ 11 วิชาขับรถยนต์

หลักสูตร

(1) มีความรู้ ความสามารถในเรื่องต่อไปนี้

ก. ขับรถยนต์ได้

ข. ซ่อมเครื่องหรือข้อบกพร่องเล็กน้อย และเปลี่ยนยางรถยนต์ได้

(2) สามารถผ่านการทดสอบและได้รับใบขับขี่รถยนต์จากกองทะเบียน กรมตำรวจ

(3) รู้จักและสามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้

ข้อ 12 เครื่องหมายวชิราวุธ

หลักสูตร

(1) ได้รับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญอย่างน้อย 5 วิชา

(2) ผู้กำกับลูกเสือ หรือผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ รับรองว่าเป็นผู้ดำเนิน

ชีวิตตามแบบลูกเสือและปฏิบัติตามคติพจน์ว่า“บริการ”โดยเคร่งครัด

(3) เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ผู้อำนวยการ

ลูกเสืออำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณวุฒิเหมาะสมทำการสัมภาษณ์ เมื่อ 

เห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมก็ให้รายงานไปตามลำดับ จนถึงคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ 

เพื่อขออนุมัติ 

หมวด 4 

การทำหน้าที่คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญและบทบาทของพี่น้อง 

1. คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญ 

คณะกรรมการประจำกองลูกเสือวิสามัญ ประกอบด้วยหัวหน้านายหมู่เป็นประธาน ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่เป็นรองประธาน กับให้นายหมู่ รองนายหมู่ในกองนั้น เป็นกรรมการ แล้วเลือกกันเองเป็นกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม กรรมการกีฬา กรรมการนันทนาการ กรรมการกลาง ฯ และนำเสนอผู้กำกับพิจารณาอนุมัติและสั่งแต่งตั้ง 

คณะกรรมการประจำกองให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้านายหมู่ ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ และกรรมการดำเนินงานของกองบ้าง แต่ในบางกรณีที่ประชุมนายหมู่อาจเสนอให้ผู้กำกับพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำกองชุดเดิม ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีก หรือจะให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่บางตำแหน่งก็ได้ 

ให้มีการประชุมคณะกรรมการประจำกองอย่างน้อยเดือนละครั้ง ในการประชุมให้หัวหน้านายหมู่เป็นประธานที่ประชุม ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ 1 คน เป็นรองประธาน เลขานุการเป็นผู้จดรายงานการประชุม ส่วนผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่เข้าประชุมด้วยให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

คณะกรรมการประจำกองมีหน้าที่ดังนี้ 

(1) วางแผนและจัดกิจกรรมในวันประชุมกองประจำสัปดาห์ 

(2) ในกรณีที่มีกิจกรรมพิเศษ อาจพิจารณาแต่งตั้งลูกเสือวิสามัญในกองคนหนึ่งให้เป็นหัวหน้ากิจกรรมนั้น 

(3) บริหารกิจการภายในกองลูกเสือ 

(4) รักษาเกียรติของกองลูกเสือ 

(5) ควบคุมการรับจ่ายเงินของกองลูกเสือ 

(6) ให้ประธานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนของกองในการติดต่อกับบุคคลภายนอก 

(7) จัดให้มีคูหา (Den) ของกอง ขนาดอย่างน้อย 4 x 6 เมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่อเนกประสงค์ของกอง 

(8) คัดเลือกลูกเสือวิสามัญอาวุโส 1 หรือ 2 คน ที่รอบรู้งานลูกเสือวิสามัญ เพื่อให้ทำหน้าที่ พี่เลี้ยง (Sponsor) เตรียมลูกเสือวิสามัญ (Rover Squire) แต่ละคนจนกว่าเตรียมลูกเสือวิสามัญนั้น จะผ่านหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก การสำรวจตัวเอง (Vivil) และได้เข้าประจำกอง (Investiture) เป็นลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) โดยสมบูรณ์ 

งานสำคัญอย่างหนึ่งของการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญ คือ การรับหน้าที่เป็นกรรมการประจำกอง เพื่อช่วยดำเนินงานของกองภายใต้การนำและควบคุมดูแลของผู้กำกับ 

2. บทบาทของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงมีหน้าที่ดังนี้ 

(1) เป็นเพื่อนที่ดีหรือเป็นพี่ที่มีความปรารถนาดีต่อเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนน้อง และอาจจะยังไม่เข้าใจว่าควรปฏิบัติหรือบำเพ็ญตนอย่างไรในกองลูกเสือวิสามัญ 

(2) เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ในเรื่องต่าง ๆ โดยทั่วไป

(3) ช่วยเหลือ ชี้แจง แนะนำ เตรียมลูกเสือวิสามัญในเรื่องธรรมเนียมประเพณีของกอง 

(4) ช่วยเหลือ ชี้แจง แนะนำ เตรียมลูกเสือวิสามัญในการฝึกอบรมตามหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก 

(5) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพิธีเข้าประจำกองของเตรียมลูกเสือวิสามัญที่ตนได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยง 

ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ควรถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติ และควรปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างจริงจัง นอกจากนั้นการรับหน้าที่นี้ ยังมีประโยชน์แก่ตัวพี่เลี้ยงเอง คือเท่ากับเป็นการฝึกอบรมในเรื่องการเป็นผู้นำตามตัวอย่าง นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยเหลืองานของกองลูกเสือวิสามัญในการฝึกอบรม เตรียมลูกเสือวิสามัญให้มีคุณภาพและเป็นกำลังของกองต่อไปอีกด้วย 

ลูกเสือวิสามัญทุกคนในกอง ควรมีโอกาสได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยงอย่างน้อยครั้งหนึ่งในโอกาสอันควร 

สำหรับกองที่ตั้งใหม่ ย่อมไม่มีลูกเสือวิสามัญอาวุโส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ในกรณีเช่นนี้ควรมอบหมายให้รองผู้กำกับทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง หรือเป็นที่ปรึกษาของเตรียมลูกเสือวิสามัญใหม่ ซึ่งอาจจะมีจำนวนหลายคนก็ได้


หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ 


การสอบวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ 

จากข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2529 ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ เสนอให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือสโมสรลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการสอบวิชาลูกเสือวิสามัญ โดยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำเนินการสอบ และเมื่อดำเนินการสอบเครื่องหมายลูกเสือโลกหรือเครื่องหมายวิชาพิเศษแล้ว ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติ และให้ประดับเครื่องหมายนั้น ๆ ได้ 

หมายเหตุ 

1. การสอบวิชาพิเศษ อาจทำในขณะที่ไปอยู่ค่ายพักแรม และจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้

2. การสอบให้ดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้แต่ละวิชา โดยมุ่งถึงคุณภาพ และการปฏิบัติได้จริงจังเป็นสำคัญ เมื่อลูกเสือคนใดสอบได้ก็ให้กรรมการสอบลงนามรับรองในสมุดประจำตัวลูกเสือวิสามัญ (ล.ส.18) และเมื่อเสร็จสิ้นการสอบแล้วให้ผู้กำกับกรอกผลการสอบลงในทะเบียนกองลูกเสือวิสามัญ (ล.ส.9) ให้ตรงกัน

3. การสอบวิชาพิเศษนั้นไม่มีการเก็บผลไว้ ถ้าสอบไม่ได้ก็ให้สอบใหม่ทุกคราว

การประดับเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ

ทำด้วยผ้าสีขาบ รูปไข่ ยาว 4 ซม. กว้าง 3.5 ซม. ขลิบริมสีเหลือง มีอักษร ล.ว. อยู่ที่ริมด้านล่าง มีรูปต่าง ๆ กัน ดังนี้

1. วิชาการลูกเสือ รูปดาว 6 แฉกสีเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า

2. เดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ตรงกลางเป็นรูปนักเดินทางไกล มีเครื่องหลังและมือถือไม้สีทอง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือให้ประดับไว้ ณ ที่ใด

3. วิชาโครงการ รูปใบไม้สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า

4. วิชาบริการ รูปดาว 6 แฉกสีทอง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ติดที่อกเสื้อข้างซ้ายเหนือกระเป๋า

5. วิชาผู้ฝึกสอน รูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ และคำว่า “ผู้ฝึกสอน” สีเหลือง ติดที่อกเสื้อข้างขวาเหนือกระเป๋า

6. วิชายิงปืน รูปปืนไรเฟิลสองกระบอกไขว้สีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด

7. วิชาศิลปประยุกต์ รูปจานสี และพู่กันสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบ ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด 

8. วิชาปฐมพยาบาล รูปกากบาทสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด 

9. วิชาอิเล็กทรอนิกส์ รูปคลื่นไฟฟ้าสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด 

10. วิชาสังคมสงเคราะห์ รูปพระประชาบดีสีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด 

11. วิชาขับรถยนต์ รูปพวงมาลัยรถยนต์สีเหลือง ยังมิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฯ ให้ประดับไว้ ณ ที่ใด 

12. เครื่องหมายวชิราวุธ รูปวชิราวุธในพระมหามงกุฎ เปล่งรัศมีสีเหลือง ติดที่อกเสื้อด้านขวาเหนือกระเป๋าใช้ได้เฉพาะลูกเสือวิสามัญ ซึ่งสอบได้วิชาพิเศษตามที่กำหนดในหลักสูตร


หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือวิสามัญ 

แนวทางการเขียนโครงการ 

โครงการ แต่ละโครงการมีองค์ประกอบดังนี้ 

1. ชื่อโครงการ 

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ (องค์การหรือหน่วยงาน) 

3. หลักการและเหตุผล 

4. วัตถุประสงค์ 

5. เป้าหมาย (ระบุให้ชัดเจนถึงจำนวนเป็นหน่วยที่จะได้รับผลโดยตรงจากโครงการ) 

6. วิธีดำเนินงาน (รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการหรือหน่วยงานเดี่ยว และมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอย่างไร) 

7. ระยะเวลาการดำเนินงาน 

8. สถานที่ดำเนินงาน 

9. งบประมาณ 

10. การติดตามผล 

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

12. เป็นโครงการต่อเนื่องหรือโครงการใหม่ 

13. ปัญหาและอุปสรรค

เครื่องหมายวิชาพิเศษสามัญรุ่นใหญ่

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือ ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ 76 วิชา

1. นักผจญภัย 

2. นักดาราศาสตร์ 

3. นักอุตุนิยมวิทยา 

4. ผู้จัดการค่ายพักแรม

5. ผู้พิทักษ์ป่า 

6. นักเดินทางไกล 

7. หัวหน้าคนครัว 

8. นักบุกเบิก

9. นักสะกดรอย 

10. นักธรรมชาติวิทยา 

11. การสื่อสารด้วยยานพาหนะ 

12. นักดับเพลิง

13. นักสัญญาน 

14. นักสารพัดช่าง 

15. นักโบราณคดี 

16. นักสะสม

17. นักดนตรี 

18. นักถ่ายภาพ 

19. นักกีฬา 

20. นักกรีฑา

21. นักพิมพ์ดีด 

22. นักแสดงการบันเทิง 

23. นักยิงปืน 

24. ล่าม

25. หน้าที่พลเมือง 

26. มัคคุเทศก์ 

27. บรรณารักษ์ 

28. เลขานุการ

29. พลาธิการ 

30. ผู้ช่วยการจราจร 

31. ช่างเขียน 

32. ช่างไฟฟ้า

33. ช่างวิทยุ 

34. ช่างแผนที่ 

35. ช่างเครื่องยนต์ 

36. อีเล็กทรอนิกส์

37. การหามิตร 

38. การฝีมือ 

39. การช่วยผู้ประสบภัย 

40. การสาธารณสุข

41. การพยาบาล 

42. การพูดในที่สาธารณะ 

43. การอนุรักษ์ธรรมชาติ 

44. การประชา สัมพันธ์

45. การสังคมสงเคราะห์ 

46. การพัฒนาชุมชน 

47. ชาวประมง 

48. ต้นเด่น

49. ผู้นำร่อง 

50. นักเล่นเรือใบ 

51. นักว่ายน้ำ 

52. นักพายเรือ

53. นักกระเชียงเรือ 

54. กลาสีเรือ 

55. การควบคุมการจราจรทางน้ำ 

56. การป้องกันความเสียหายและดับเพลิงไหม้บนเรือ 

57. การเรือ 

58. การดำรงชีพในทะเล 

59. เครื่องหมายชาวเรือ 

60. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าสมุทร 

61. นักเครื่องบินเล็ก 

62. ช่างอากาศ 

63. ยามอากาศ 

64. การควบคุมการจราจรทางอากาศเบื้องต้น 

65. การควบคุมการจราจรทางอากาศ 

66. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและดับเพลิงอากาศยาน 

67. การฝึกเป็นผู้นำ 

68. นักปฏิบัติการทางจิตวิทยา(ปจว.) 

69. การขนส่งทางอากาศ 

70. แผนที่ทหารและเข็มทิศ 

71. เสนารักษ์ 

72. การดำรงชีพในถิ่นทุรกันดาร 

73. นักไต่ผา 

74. เครื่องหมายการบิน 

75. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าอากาศ 

76. เครื่องหมายผู้ฝึกสอน

แนวปฏิบัติการสอบวิชาลูกเสือพิเศษ

ในการสอบวิชาพิเศษลูกเสือ มีแนวปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
1. ทำการสอบวิชาพิเศษโดยใช้เวลานอกเหนือจากจากที่ลูกเสือเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติ หรือในขณะอยู่ค่ายพักแรม นอกจากนี้ ลูกเสืออาจใช้เวลาว่างของตนเองทำการฝึกฝนทักษะต่าง ๆของวิชาพิเศษ แล้วทำการขอสอบหรือส่งรายงานผลการปฏิบัติงานของรายวิชานั้น แก่ผู้กำกับลูกเสือ เพื่อขอประดับเครื่องหมาย การสอบจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้ โดยเน้นการปฏิบัติจริง เมื่อสอบผ่านแล้ว ให้ผู้กำกับลงนามรับรองในสมุดประจำตัวลูกเสือ
2. วิชาพิเศษลูกเสือวิชาใดที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ลูกเสือเข้าร่วมตามปกติ ก็ให้นำไปบูรณาการ รวมทั้งทำการสอบภาคปฏิบัติของวิชาพิเศษนั้น ๆ และให้ถือว่าลูกเสือที่ผ่านการสอบแล้วมีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวิชาพิเศษนั้นด้วย
3. ให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการขอซื้อเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือตามจำนวนที่ลูกเสือได้รับจากร้านค้าขององค์การค้าของคุรุสภา
4. สำหรับวิชาพิเศษลูกเสือ ให้ใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ.2528

ประวัติลูกเสือไทย



การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี (Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง 
จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”


ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา

ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468

'' เพิ่มเติม ประวัติศาสตร์ ''

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) 
- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)
- คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) 
- ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) 
- จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) 
- เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ

พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) 
- เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) 
- เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม

ประวัติลูกเสือโลก


โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน

บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน รวมทั้งรักดนตรี และวาดภาพอีกด้วย

เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 1887 บี.พี. ได้ไปประจำการอยู่ในแอฟริกา ซึ่งต้องรบกับชนเผ่าพื้นเมืองที่ป่าเถื่อนดุร้าย ไม่ว่าจะเป็น ซูลู อาซันติ หรือมาตาบีลี และด้วยความสามารถของท่านในการสอดแนม การสะกดรอย รวมทั้งความกล้าหาญของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่หวาดกลัวของบรรดาชนพื้นเมืองจนถึงกับตั้งฉายาท่านว่า "อิมปีซ่า" (Impeesa) หมายความว่า "หมาป่าผู้ไม่เคยหลับนอน" และด้วยความสามารถของท่าน ทำให้ท่านได้เลื่อนยศอย่างรวดเร็ว


ในปี ค.ศ. 1889 อังกฤษมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐทรานสวาล พันเอก เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้นำทหารม้าสองกองพันเดินทางไปป้องกันเมืองมาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใจกลางของแอฟริกาใต้ ที่นี่เองเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในการรักษาเมืองไว้จากเงื้อมมือของข้าศึกที่ล้อมอยู่ด้วยกำลังมากกว่าอย่างมหาศาลไว้ได้ถึง 217 วัน จนกระทั่งกองทหารของอังกฤษได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ 

หลังจากศึกคราวนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้รับการนับถือจากชาวอังกฤษให้เป็นวีรบุรุษ

ในปี ค.ศ. 1901 บี.พี. เดินทางกลับไปยังอังกฤษ และด้วยชื่อเสียงของท่านในฐานะวีรบุรุษ ทำให้หนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเพื่อให้ทหารอ่าน ชื่อ "Aids to Scoutting" หรือ "การสอดแนมเบื้องต้น" ได้รับความนิยมจนกระทั่งนำไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายมากมาย

จุดนี้เอง ทำให้ บี.พี. เกิดประกายความคิดถึงโอกาสที่จะพัฒนาเด็กอังกฤษให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง เพราะถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสอดแนม สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ ถ้าท่านทำหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะก็คงจะได้ผลมากยิ่งขึ้น 

บี.พี. จึงเริ่มศึกษาเรื่องราวของการฝึกอบรมเด็กจากทุกยุคทุกสมัย และนำประสพการณ์ในอินเดีย และแอฟริกา มาดัดแปลง และค่อย ๆ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการลูกเสืออย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง จนกระทั่งฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1907 ท่านจึงได้รวบรวมเด็กยี่สิบคน ไปพักแรมกับท่านที่เกาะบราวซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกของโลก และประสพผลสำเร็จอย่างงดงาม

ต้นปี ค.ศ. 1908 บี.พี. ได้จัดพิมพ์คู่มือการฝึกอบรมขึ้น แบ่งออกเป็นหกตอนในชื่อ "Scoutting for Boys" หรือ "การสอดแนมสำหรับเด็ก" ซึ่งมีภาพประกอบที่เขียนโดยตัวท่านเองอยู่ด้วย เมื่อหนังสือเริ่มวางจำหน่าย แม่แต่ตัวท่านเองก็ไม่นึกไม่ฝันว่า มันจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดกองลูกเสือขึ้นมากมาย ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น แต่แพร่หลายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย

เมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้น บี.พี. ได้มองเห็นโอกาสที่จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ด้วยการใช้การลูกเสือบ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะต้องมาฝึกผู้ใหญ่ให้เป็นทหาร ท่านจึงได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1910 ขณะที่มียศพันโท เพื่อเดินเข้าสู่ชีวิตที่ท่านเรียกว่า "ชีวิตที่สอง" (Second Life) ที่ให้บริการโลกใบนี้ด้วยกิจการลูกเสือ และได้รับผลรางวัลเป็นความรักและนับถือจากลูกเสือทั่วโลก

ปี ค.ศ. 1912 บี.พี. เดินทางรอบโลกไปพบปะกับลูกเสือในประเทศต่าง ๆ และเริ่มต้นเสริมสร้างการเป็นพี่น้องกันของลูกเสือทั่วโลก น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้งานนี้ต้องหยุดชงักลงชั่วขณะ แต่ก็เริ่มสานต่อหลังจากสงครามสิ้นสุดลง


จนกระทั่งปี ค.ศ. 1920 ก็ได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นครั้งแรก (1st World Jamboree) และในคืนวันสุดท้ายของการชุมนุม บรรดาลูกเสือที่เข้าร่วมชุมนุมก็ร่วมกันประกาศให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)และเมื่อกิจการลูกเสือดำเนินมาครบ 21 ปี พระเจ้ายอร์ชที่ 5 ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็นขุนนาง มีชื่อยศว่า Lord Baden Powell of Gilwell

เมื่อ บี.พี. มีอายุครบ 80 ปี กำลังของท่านก็เริ่มทรุดลง ท่านได้กลับไปพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิตในแอฟริกาที่ท่านรัก และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1941 เมื่อมีอายุ 84 ปี

ค.ศ. 1907 - มีการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเป็นครั้งแรก ที่เกาะบราวซี 

ค.ศ. 1908 - หนังสือ Scoutting for Boys ตีพิมพ์ และเริ่มกำเนิดกองลูกเสือขึ้นในหลายประเทศ 

ค.ศ. 1909 - จัดตั้งสำนักงานลูกเสืออังกฤษ และมีการชุมนุมลูกเสืออังกฤษเป็นครั้งแรก 

ค.ศ. 1910 - จัดตั้งกองลูกเสือหญิง (Birl Guide) โดยมีแอกนีส น้องสาวของ บี.พี. เป็นหัวหน้า 

ค.ศ. 1911 - จัดตั้งกองลูกเสือสมุทร 

ค.ศ. 1912 - บี.พี. เดินทางไปเยี่ยมลูกเสือในประเทศต่าง ๆ รอบโลก 

ค.ศ. 1914 - เกิดสงครามโลกครั้งแรก บี.พี. มอบลูกเสือให้ทำหน้าที่ช่วยทหาร เช่น รักษาสะพาน และสายโทรศัพท์ ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ช่วยงานในโรงพยาบาล 

ค.ศ. 1916 - จัดตั้งกองลูกเสือสำรอง 

ค.ศ. 1918 - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) 

ค.ศ. 1919 - ตั้งกิลเวลล์ปาร์ด (Gilwell Park) และเริ่มดำเนินการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ 

ค.ศ. 1920 - มีการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ บี.พี. ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World) 

ค.ศ. 1922 - บี.พี. เขียนหนังสือ "Rovering to Success" หรือ "การท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับลูกเสือวิสามัญ 

ค.ศ. 1926 - จัดตั้งกองลูกเสือพิการ 

ค.ศ. 1937 - บี.พี. ได้รับพระราชธานบรรดาศักดิ์เป็น Lord Baden Powell of Gilwell 

ค.ศ. 1941 - บี.พี. ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระราชบัญญัติลูกเสือ ปี พ.ศ.2551

พระราชบัญญัติ
ลูกเสือ
พ.ศ. ๒๕๕๑

_______________________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗
(๒) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙
(๓) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘
(๔) พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ลูกเสือ” หมายความว่า เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า “เนตรนารี”
“บุคลากรทางการลูกเสือ” หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
บททั่วไป


มาตรา ๖ ให้มีคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย บรรดาลูกเสือทั้งปวงและบุคลากรทางการลูกเสือ

มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๘ คณะลูกเสือแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี และมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
(๒) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(๓) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
(๔) ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆ ตามความเหมาะสม
(๕) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ

มาตรา ๙ ให้กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานของคณะลูกเสือแห่งชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือจังหวัด สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดกิจกรรมลูกเสือเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๑๐ ให้กรรมการสภาลูกเสือไทย กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กรรมการลูกเสือจังหวัด และกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

หมวด ๒
การปกครอง


ส่วนที่ ๑
สภาลูกเสือไทย


มาตรา ๑๑ ให้มีสภาลูกเสือไทย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นสภานายก
(๒) รองนายกรัฐมนตรี เป็นอุปนายก
(๓) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินแปดสิบคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
สภาลูกเสือไทยอาจมีสภานายกกิตติมศักดิ์ อุปนายกกิตติมศักดิ์ และกรรมการกิตติมศักดิ์ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

มาตรา ๑๒ สภาลูกเสือไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางนโยบายเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของคณะลูกเสือแห่งชาติ
(๒) ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๓) พิจารณารายงานประจำปีของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๔) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกได้

มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๔) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ


มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรบริหารของคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบห้าคนซึ่งสภานายกสภาลูกเสือไทยแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติตาม (๑) และ (๒) ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมาจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งแทนก็ได้
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔ มาใช้บังคับแก่การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๑๗ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย
(๒) ส่งเสริมความสัมพันธ์กับคณะลูกเสือนานาชาติ
(๓) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ
(๔) สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
(๕) จัดการทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๖) ให้ความเห็นชอบในการลงทุนเพื่อประโยชน์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๗) ออกข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๘) วางระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ
(๙) จัดทำรายงานประจำปีเสนอสภาลูกเสือไทยพิจารณาตามมาตรา ๑๒ (๓)
(๑๐) แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๑๑) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมอบหมาย
(๑๒) กำกับดูแล สนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้าน
(๑๓) จัดตั้งตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๑๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๑๘ ให้มีสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้รัฐมนตรีแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงอื่นในกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการตามจำนวนที่เหมาะสม โดยการเสนอของเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการด้วย

มาตรา ๒๐ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินของคณะลูกเสือแห่งชาติหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
(๒) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงอื่น
(๓) รับผิดชอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๔) ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการ และคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้งถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของลูกเสือ
(๕) จัดให้มีการฝึกอบรมหรือการชุมนุมลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ
(๖) จัดทำรายงานประจำปีพร้อมงบดุลเสนอคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๗) จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับลูกเสือ
(๘) ประสานและส่งเสริมสำนักงานลูกเสือจังหวัดและสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและตามมติของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๒๑ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๓) ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอื่นตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๔) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนหรือการร่วมลงทุนกับหน่วยงานและบุคคลภายนอก รวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๕) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และทรัพย์สินที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์
(๖) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น

มาตรา ๒๒ บรรดาเงินหรือรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่เป็นเงินหรือรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การใช้จ่ายเงินหรือรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการลูกเสือตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๒๓ ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสำนักงาน รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๒) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักงาน รวมทั้งการเงิน และบัญชี ตลอดจนกระบวนการดำเนินงาน แผนการเงินและงบประมาณของปีถัดไปต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๓) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย
(๔) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง และลงโทษทางวินัย พนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๕) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๒๔ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้แทนของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เพื่อการนี้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่เฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๒๕ กิจการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๒๖ การบัญชีของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ให้จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและการพัสดุของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๒๗ ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจัดทำงบการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณเพื่อตรวจสอบ
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และให้ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติทุกรอบปีงบประมาณ แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี

ส่วนที่ ๓
ลูกเสือจังหวัด


มาตรา ๒๘ ในแต่ละจังหวัด ให้จัดระเบียบการปกครองลูกเสือตามเขตจังหวัด
สำหรับการจัดระเบียบการปกครองลูกเสือในกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นรูปแบบพิเศษให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๙ ให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการปลัดจังหวัด นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) กรรมการประเภทผู้แทนจำนวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนค่ายลูกเสือจังหวัด ผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ และผู้แทนจากลูกเสือชาวบ้านซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการลูกเสือจังหวัดตาม (๒) และ (๓) ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกกรรมการตาม (๓) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๓๐ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๙ (๓) และ (๔) โดยอนุโลม

มาตรา ๓๑ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือ
(๓) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ
(๔) ควบคุมดูแลทรัพย์สินในกิจการของลูกเสือจังหวัด
(๕) พิจารณาคำขอการจัดตั้งค่ายลูกเสือตามมาตรา ๓๒
(๖) พิจารณารายงานประจำปีของสำนักงานลูกเสือจังหวัด
(๗) ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปี
(๘) ให้คำแนะนำผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาในการปฏิบัติงานลูกเสือ
(๙) จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการลูกเสือ
(๑๐) ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ เพื่อความเหมาะสมแก่การปกครองในจังหวัดซึ่งจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๑๑) จัดทำรายงานประจำปีและรายงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือในจังหวัดเสนอต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๑๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดมอบหมาย
(๑๓) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมอบหมาย

มาตรา ๓๒ การจัดตั้งค่ายลูกเสือในจังหวัดใดต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และให้คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดรายงานต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติทราบ
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๓๓ ให้มีสำนักงานลูกเสือจังหวัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑ เป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด บังคับบัญชา และรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือจังหวัด และให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด

มาตรา ๓๔ การจัดตั้งค่ายลูกเสือ การขออนุญาต และการอนุญาตสำหรับค่ายลูกเสือในกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๔
ลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา


มาตรา ๓๕ ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารงานลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษานั้น

มาตรา ๓๖ ให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย
(๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรของทุกอำเภอในเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลของทุกสถานีในเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๓) กรรมการประเภทผู้แทน ได้แก่ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน ผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ผู้แทนค่ายลูกเสือ และผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ ซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการตาม (๒) และ (๓) ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกกรรมการตาม (๓) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๓๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๓๖ (๓) และ (๔) โดยอนุโลม

มาตรา ๓๘ ให้คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่การศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือ
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมลูกเสือทั้งในและนอกสถานศึกษา
(๔) ควบคุมดูแลทรัพย์สินในกิจการของลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) พิจารณารายงานประจำปีของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและรายงานให้คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดทราบ
(๖) ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการประจำปี
(๗) ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษาในการปฏิบัติงานหรือจัดกิจกรรมลูกเสือ
(๘) จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับลูกเสือ
(๙) กำกับดูแล สนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้านในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ เพื่อความเหมาะสมแก่การปกครองในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๓๙ ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาบังคับบัญชาและรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

ส่วนที่ ๕
ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ


มาตรา ๔๐ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้มาจากการให้ ซื้อด้วยเงินรายได้ของสำนักงาน หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หรือได้มาโดยวิธีอื่น ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ของสำนักงานตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติไม่ขัดข้องและได้รับค่าตอบแทนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๔๑ ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจะต้องจัดการตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ และต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว สำนักงานลูกเสือแห่งชาติต้องได้รับความยินยอมจากผู้อุทิศให้หรือทายาท หากไม่มีทายาทหรือทายาทไม่ปรากฏจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๔๒ ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติในเรื่องทรัพย์สินมิได้

หมวด ๓
การจัดกลุ่ม ประเภท และตำแหน่งลูกเสือ


มาตรา ๔๓ การตั้ง การยุบ การจัดหน่วยลูกเสือ เหล่าลูกเสือ และประเภทลูกเสือทั้งปวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๔ การเข้าเป็นลูกเสือ การออกจากลูกเสือ การจัดประเภท ชั้น เหล่า และการฝึกอบรมลูกเสือในสถานศึกษาหรือนอกสถานศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๔๕ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้อำนวยการใหญ่
(๒) รองผู้อำนวยการใหญ่
(๓) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่
(๔) ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๕) รองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๖) ผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๗) ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) รองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
(๑๐) รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
(๑๑) ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
(๑๒) รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
(๑๓) ผู้กำกับกองลูกเสือ
(๑๔) รองผู้กำกับกองลูกเสือ
(๑๕) นายหมู่ลูกเสือ
(๑๖) รองนายหมู่ลูกเสือ

มาตรา ๔๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้อำนวยการใหญ่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นรองผู้อำนวยการใหญ่ และรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด และปลัดจังหวัด เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือตามมาตรา ๔๕ (๙) ถึง (๑๖) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๔๗ ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ
(๒) ผู้ตรวจการใหญ่
(๓) รองผู้ตรวจการใหญ่
(๔) ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๕) รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๖) ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๗) ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๘) รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๙) ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๑๐) ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๑) รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

มาตรา ๔๘ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตรวจการใหญ่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรองผู้ตรวจการใหญ่
การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือตามมาตรา ๔๗ (๔) ถึง (๑๑) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๔๙ ผู้ตรวจการลูกเสือมีหน้าที่ตรวจตรา แนะนำ ชี้แจง และรายงานเพื่อให้การบริหารงานลูกเสือเป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

หมวด ๔
ธง เครื่องแบบ และการแต่งกาย


มาตรา ๕๐ ให้มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติ และธงลูกเสือประจำจังหวัดโดยรับพระราชทานจากประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ
ให้มีธงคณะลูกเสือไทยและธงลูกเสืออื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการร่วมกิจกรรมระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๑ เครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๒ ลูกเสือต้องปฏิบัติตามวินัยซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และตามแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

หมวด ๕
เหรียญลูกเสือ และการยกย่องเชิดชูเกียรติ


มาตรา ๕๓ ให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษไว้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่งและได้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง

มาตรา ๕๔ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามมาตรา ๕๓ เป็นดวงตรา ด้านหน้ามีลักษณะเป็นรูปไข่พื้นลงยาสีน้ำเงิน ขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๓.๓ เซนติเมตร กลางดวงตรามีตราหน้าเสือประกอบวชิระเงินล้อมด้วยเม็ดไข่ปลาสีทองและมีรัศมีเงินโดยรอบแปดแฉกคั่นด้วยกระจังสีทองเบื้องบนมีพระมหามงกุฎรัศมีฉลุโปร่งและเลข “๙” สีทอง ด้านหลังกลางดวงตราเป็นดุม พื้นลงยาสีม่วงมีรูปตราของคณะลูกเสือโลก เบื้องล่างมีอักษรสีเงินว่า “เราจะทำนุบำรุงกิจการลูกเสือสืบไป” ที่ขอบส่วนบนของดวงตรามีห่วงห้อยแพรแถบสำหรับคล้องคอ ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร มีริ้วสีเหลืองกว้าง ๒.๒ เซนติเมตร อยู่กลางริมทั้งสองข้างมีริ้วสีขาวกว้าง ๓ มิลลิเมตร และริ้วสีดำ กว้าง ๖ มิลลิเมตร

มาตรา ๕๕ ให้มีเหรียญลูกเสือสรรเสริญเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้สำหรับพระราชทานแก่ลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือผู้มีความดีความชอบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗

มาตรา ๕๖ เหรียญลูกเสือสรรเสริญเป็นเหรียญเงินมีลักษณะกลมรี ขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๓.๒ เซนติเมตร ด้านหน้าตรงกลางมีตราหน้าเสือประกอบวชิระ ริมขอบส่วนบนมีอักษรว่า “ลูกเสือ” และส่วนล่างมีอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ตราหน้าเสือประกอบวชิระและตัวอักษรให้ทำเป็นลายดุน ด้านหลังเป็นพื้นเกลี้ยงจารึกนาม เลขหมายประจำตัวของผู้ซึ่งได้รับพระราชทานนามหน่วยลูกเสือที่สังกัด และวันที่พระราชทาน ที่ขอบส่วนบนของเหรียญมีห่วงห้อยแพรแถบ ขนาดกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร มีริ้วสีดำกว้าง ๑.๒ เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีเหลือง กว้าง ๖ มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย
เหรียญลูกเสือสรรเสริญ มีลำดับเป็นสามชั้น ดังต่อไปนี้
ชั้นที่หนึ่ง มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบสองดอกตามแนวนอน
ชั้นที่สอง มีเฟลอร์เดอลีส์ ทำด้วยโลหะเงินประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลางหนึ่งดอก
ชั้นที่สาม ไม่มีเฟลอร์เดอลีส์ประดับที่แพรแถบ

มาตรา ๕๗ เหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่หนึ่ง จะพระราชทานแก่ผู้มีความดี ความชอบซึ่งได้ทำการรักษาความปลอดภัยหรือสันติสุขเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์หรือได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้ โดยตนเองได้ฝ่าอันตรายจนถึงขนาดที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญนี้ หรือตนเองได้ประสบอันตรายถึงทุพพลภาพหรือถึงเสียชีวิต
เหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สอง จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายโดยตนเองได้ประสบอันตรายหรือฝ่าอันตราย หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบในข้อต่อไปนี้ ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยครั้ง และในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าสิบครั้ง คือ
(๑) ช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ยากลำบากที่ควรช่วย
(๒) ช่วยเหลือหรือป้องกันผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นให้พ้นอันตราย
(๓) ช่วยสัตว์ให้พ้นจากการทรมานหรือพ้นทุกขเวทนา
(๔) ทำการปฐมพยาบาล
(๕) ช่วยเหลือราชการ
(๖) ช่วยเหลือกิจการอันเป็นสาธารณกุศล
(๗) ช่วยเหลือผู้ปกครอง
(๘) ช่วยเหลือกิจการต่างๆ ของโรงเรียน หรือสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติ
เหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สาม จะพระราชทานแก่ผู้มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียว หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบตามเกณฑ์สำหรับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สอง ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่าห้าสิบครั้งและในแต่ละข้อไม่น้อยกว่าห้าครั้ง

มาตรา ๕๘ ให้มีเหรียญลูกเสือสดุดีเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้สำหรับพระราชทานแก่บุคลากรทางการลูกเสือและบุคคลอื่นบรรดาที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือถึงขนาด หรือที่ได้อุทิศกำลังกายหรือกำลังความคิดในการประกอบกิจการให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสือตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๐

มาตรา ๕๙ เหรียญลูกเสือสดุดีเป็นเหรียญเงิน มีลักษณะกลมรีขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ๓.๒ เซนติเมตร ด้านหน้าตรงกลาง มีตราหน้าเสือประกอบวชิระ ริมขอบส่วนบนมีอักษรว่า “ลูกเสือ” และส่วนล่างมีอักษรว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ตราหน้าเสือประกอบวชิระและตัวอักษรให้ทำเป็นลายดุน ด้านหลังเป็นพื้นเกลี้ยงจารึกนามของผู้ซึ่งได้รับพระราชทานและวันที่พระราชทานที่ขอบส่วนบนของเหรียญมีห่วงห้อยแพรแถบ ขนาดกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร มีริ้วสีเหลือง กว้าง ๑.๒ เซนติเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง ๖ มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย
เหรียญลูกเสือสดุดี มีลำดับเป็นสามชั้น ดังต่อไปนี้
ชั้นที่หนึ่ง มีเข็มวชิระ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลางในแนวทางดิ่งหนึ่งเข็ม
ชั้นที่สอง มีเข็มหน้าเสือ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลางในแนวทางดิ่งหนึ่งเข็ม
ชั้นที่สาม ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือประดับที่แพรแถบ

มาตรา ๖๐ เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่ง จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสือถึงขนาด หรือที่ได้อุทิศกำลังกาย หรือกำลังความคิดในการประกอบกิจการให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสืออย่างยิ่งตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด
เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่สอง จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) บริจาคเงินหรือทรัพย์สิ่งของต่างๆ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด
(๒) ช่วยเหลือเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับที่หนึ่งวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้นหรือขั้นความรู้ชั้นสูง โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าสิบครั้ง หรือระดับที่สอง การให้การฝึกอบรมแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือแล้ว โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่ายี่สิบครั้ง
(๓) ช่วยเหลือกิจการลูกเสือด้านอื่นๆ จนเกิดผลดีแก่การลูกเสือติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าห้าปี และปีหนึ่งๆ ไม่น้อยกว่าสิบครั้ง
(๔) ช่วยเหลือและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคณะลูกเสือไทยกับคณะลูกเสือต่างประเทศเป็นอย่างดียิ่ง
เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่สาม จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีอุปการคุณต่อการลูกเสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) บริจาคเงินหรือทรัพย์สิ่งของต่างๆ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด
(๒) ช่วยเหลือเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับที่หนึ่งวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้เบื้องต้นหรือขั้นความรู้ชั้นสูง โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าครั้ง หรือระดับที่สอง การให้การฝึกอบรมแก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือแล้ว โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสิบครั้ง
(๓) ช่วยเหลือเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมวิชานายหมู่ลูกเสือหรือวิชาลูกเสือประเภทต่างๆ โดยอยู่ประจำตลอดการฝึกอบรมครั้งละสามวัน ไม่น้อยกว่าห้าสิบครั้ง
(๔) ช่วยเหลือกิจการลูกเสือด้านอื่นๆ จนเกิดผลดีแก่การลูกเสือติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี และปีหนึ่งๆ ไม่น้อยกว่าห้าครั้ง
(๕) ช่วยเหลือและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคณะลูกเสือไทยกับคณะลูกเสือต่างประเทศเป็นอย่างดี

มาตรา ๖๑ ให้มีเหรียญลูกเสือยั่งยืนเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการให้แก่บุคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการลูกเสือ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๖๒ เหรียญลูกเสือยั่งยืน มีลักษณะเป็นเหรียญเงินรูปหกเหลี่ยมตัวเหรียญหมุนได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๓ เซนติเมตร มีมุมแหลมอยู่ด้านบนติดกับห่วงห้อยร้อยแพรแถบมีขอบสองชั้น ด้านหน้ากลางเหรียญมีหน้าเสือประกอบวชิระทำเป็นลายดุน ภายในกรอบเป็นวงกลม ยกระดับพ่นทรายด้าน ด้านหลังเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” อยู่บนพื้นพ่นทรายด้าน ด้านบนแพรแถบเป็นเข็มกลัดมีลักษณะเป็นแถบโลหะสีเงิน ภายในมีข้อความว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ล้อมด้วยรูปเกลียวเชือกผูกเป็นปมเงื่อนพิรอด แพรแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร มีริ้วสีแดงกว้าง ๑๑ มิลลิเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง ๓ มิลลิเมตร ถัดจากริ้วสีดำเป็นริ้วสีขาวกว้าง ๒ มิลลิเมตร และริ้วสีเหลืองอยู่ริมแพรแถบกว้าง ๔.๕ มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย

มาตรา ๖๓ เมื่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติพิจารณาเห็นว่า ผู้ใดสมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เหรียญลูกเสือสดุดี และเหรียญลูกเสือยั่งยืน ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานต่อไป

มาตรา ๖๔ ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เหรียญลูกเสือสดุดี และเหรียญลูกเสือยั่งยืนทุกชั้นให้ประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๖๕ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เหรียญลูกเสือสดุดี และเหรียญลูกเสือยั่งยืน ให้เป็นสิทธิแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ตกทอดแก่ทายาทเพื่อรักษาไว้เป็นที่ระลึก

มาตรา ๖๖ ให้มีเข็มลูกเสือสมนาคุณ ไว้สำหรับตอบแทนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเพื่อบำรุงการลูกเสือ
เข็มลูกเสือสมนาคุณ มีลำดับเป็นสี่ชั้น ดังต่อไปนี้
เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นพิเศษ
เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่หนึ่ง
เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่สอง
เข็มลูกเสือสมนาคุณ ชั้นที่สาม
ลักษณะของเข็มลูกเสือสมนาคุณและเงื่อนไขในการให้เข็มลูกเสือสมนาคุณให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๖๗ ให้มีเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือ
ลักษณะและประเภทของเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ และเงื่อนไขในการให้เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา ๖๘ ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกสำหรับลูกเสือ หรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จะใช้เหรียญนั้นประดับ หรือจะใช้เหรียญลูกเสือสรรเสริญตามพระราชบัญญัตินี้ประดับก็ได้ โดยเทียบชั้นดังนี้คือ
เหรียญทองคำหรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่หนึ่ง เทียบเท่ากับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่หนึ่ง ตามพระราชบัญญัตินี้
เหรียญเงินหรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สอง เทียบเท่ากับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สอง ตามพระราชบัญญัตินี้
เหรียญโลหะขาวหรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สาม เทียบเท่ากับเหรียญลูกเสือสรรเสริญชั้นที่สาม ตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๖
บทกำหนดโทษ


มาตรา ๖๙ ผู้ใดแต่งเครื่องแบบลูกเสือ หรือประดับเครื่องหมายลูกเสือโดยไม่มีสิทธิ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ หรือแต่งกายเลียนแบบหรือประดับเครื่องหมายเพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนเป็นลูกเสือหรือบุคลากรทางการลูกเสือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐ ผู้ใดทำปลอมเข็มลูกเสือสมนาคุณ หรือเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ด้วยวิธีใดๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล


มาตรา ๗๑ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และงบประมาณของคณะลูกเสือแห่งชาติตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ ไปเป็นของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
ให้โอนพนักงานและลูกจ้างของคณะลูกเสือแห่งชาติตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ ไปเป็นพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗๒ ให้สภาลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด คณะกรรมการลูกเสืออำเภอ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีสภาลูกเสือไทย คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗๓ ค่ายลูกเสือใดที่จัดตั้งและดำรงอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ถือว่าได้รับการอนุญาตเพื่อจัดตั้งค่ายลูกเสือตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวง ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างระเบียบบริหารราชการและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำให้การบริหารงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยลูกเสือได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เพื่อกำหนดการดำเนินการของลูกเสือองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนสมควรกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับการลูกเสือของนานาประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การลูกเสือมีความเจริญก้าวหน้าและสร้างความสามัคคีแก่คนในชาติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้